สภาพการปฏิบัติงาน
6.7.1 แพทย์ฝึกอบรมมีสถานะเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือพนักงานคณะแพทยศาสตร์หรือข้าราชการลาศึกษาต่อ (ทุนต้นสังกัด) มีค่าตอบแทนเงินเดือนค่าตอบแทนพิเศษสาขาขาดแคลนค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการและค่าตอบแทนอื่น ๆ อย่างเพียงพอเช่นเดียวกับพนักงานสาขาอื่น ๆ ของคณะแพทยศาสตร์และปรับเพิ่มตามศักยภาพที่ประเมิน
6.7.2 แพทย์ฝึกอบรมจะได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ตามระเบียนพนักงานมหาวิทยาลัยหรือพนักงานคณะแพทยศาสตร์หรือข้าราชการลาศึกษาต่อ (ทุนต้นสังกัด)
6.7.2.1 สวัสดิการการรักษาพยาบาลตามสิทธิ์ราชการหรือประกันสังคมตามแต่กรณีรวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ที่กำหนดเช่นเดียวกับบุคลากรตามประกาศของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
6.7.2.2 สวัสดิการที่พักภายในคณะแพทยศาสตร์ (หรือกรณีไม่สามารถจัดสรรที่พักได้เพียงพอจะสนับสนุนค่าเช่าที่พัก)
6.7.2.3 มีสิทธิ์ลากิจลาป่วยตามระเบียบเช่นเดียวกับบุคลากรประจำ แต่ยังคงต้องมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าที่หลักสูตรกำหนดสำหรับการฝึกอบรม
6.7.2.4 มีสิทธิ์ในการลาพักร้อนระหว่างการฝึกอบรม โดยกำหนดให้ลาได้ไม่เกิน 5 วันทำการต่อการฝึกอบรม 1 ชั้นปี
6.7.3 การจัดกิจกรรมวิชาการส่วนกลางจะจัดแยกสัดส่วนจากการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนโดยแพทย์ฝึกอบรมทุกคนสามารถเข้าร่วมโดยไม่ติดข้อจำกัดของการปฏิบัติงานหรือการอยู่เวรกิจกรรมจะจัดในวันพุธที่กำหนดเป็นวันวิชาการของแพทย์ฝึกอบรม และช่วงเช้าของทุกวันซึ่งแพทย์ฝึกอบรมจะไม่มีภาระงานในช่วงวันเวลาดังกล่าว
6.7.4 การจัดกิจกรรมในแต่ละสายปฏิบัติงาน/อนุสาขาฯ จะมีกิจกรรมวิชาการที่จัดภายในอนุสาขาฯจะมีผู้เข้าร่วมเฉพาะแพทย์ฝึกอบรมและอาจารย์แพทย์ในสายการปฏิบัติงานนั้น ๆ
6.7.5 มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของแพทย์ฝึกอบรมแต่ละระดับทั้งในด้านการปฏิบัติงานการอยู่เวร และการทำกิจกรรมวิชาการ
6.7.6 สาขาวิชาฯได้กำหนดภาระงานบริการและความรับผิดชอบของแพทย์ฝึกอบรมดังนี้
6.7.6.1 ระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของแต่ละช่วงเวลาหรือการหมุนเวียนการปฏิบัติงานในกรณีที่แพทย์ฝึกอบรมไม่สามารถฝึกอบรมในช่วงเวลาที่กำหนดด้วยเหตุผลและความจำเป็นใดๆรวมทั้งการปฏิบัติงานเสริมเพิ่มเติมกรณีไม่ผ่านการประเมินแพทย์ฝึกอบรมสามารถใช้เวลา elective อิสระในการฝึกอบรมทดแทน
6.7.6.2 ภาระงานบริการเป็นไปตามตารางการปฏิบัติงานของแต่ละสายงานและมีการดูแลให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดของราชวิทยาลัยฯ คือเพียงพอต่อการเรียนรู้และไม่เกินกำหนดเวลา
6.7.6.3 ภาระงานวิชาการ
(1) การเรียนการสอนในห้องบรรยายระหว่างวันจันทร์ – วันศุกร์ ยกเว้นวันพุธอย่างน้อย 0.5 ชั่วโมงต่อวันและงานวิชาการประจำสาย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์
(2) การเรียนการสอนในห้องบรรยายและห้องปฏิบัติการในทุกวันพุธ เริ่มเวลา 08.00 ถึง 15.00 น.
(3) การเรียนรู้จากการดูแลผู้ป่วยในร่วมกับอาจารย์แพทย์และการเรียนรู้ในห้องผ่าตัดการเรียนรู้การซักประวัติตรวจร่างกายการเลือกการรักษาให้ผู้ป่วยโดยการศึกษากับอาจารย์แพทย์ที่คลินิกในสายงานต่าง ๆ
6.7.6.4 การอยู่เวรผู้ป่วยทุกคนได้รับการดูแลตลอด 24 ชั่วโมงโดยได้มีข้อกำหนดการอยู่เวรและการรับปรึกษาของแพทย์ฝึกอบรมดังนี้
(1) วันจันทร์-ศุกร์แบ่งเป็น 2 ระยะเวลา ได้แก่
ระยะเวลาที่ 1 เวลา 08.30 -16.30 น. โดยแพทย์ฝึกอบรมในสายปฏิบัติงานที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกและได้รับการกำหนดชื่อหมุนเวียนปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยใน และรับปรึกษาผู้ป่วยนอกภาควิชารวมถึงห้องตรวจอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ครั้งละ 1-2 คน
ระยะเวลาที่ 2 เวลา 16.30 – 08.30 น. โดยแพทย์ฝึกอบรมที่อยู่เวร 4-5 คนต่อครั้ง
(2) การอยู่เวรในวันเสาร์ – อาทิตย์และวันหยุดมีระยะเวลา 24 ชั่วโมงโดยมีเริ่มที่เวลา 08.30น. โดยแพทย์เวร 4-5 คน
(3) แพทย์ฝึกอบรมไม่สามารถอยู่เวรติดต่อกัน 2 วันขึ้นไปและไม่ต่อเนื่องกันมากกว่า 24 ชั่วโมง และต้องอยู่เวรอย่างน้อย 6 เวร (8 คาบ) ต่อเดือน
(4) แพทย์ฝึกอบรมได้รับการเรียนรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับผู้ป่วยโดยสื่อสารและรับคำปรึกษาจากอาจารย์แพทย์เวร และทบทวนการเรียนรู้เพิ่มเติมจาก trauma film conference ในทุกสัปดาห์
(5) หัวหน้าแพทย์เวรต้องจัดให้มีการนำเสนอรายงานการให้การดูแลผู้ป่วยและวิชาการที่เกี่ยวข้องใน trauma film conference และติดตามผู้ป่วยต่อเนื่องด้วยตนเองในบางรายที่สอดคล้องกับสมรรถนะหลักระดับ L4 และ EPA